วันพฤหัสบดีที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

วิธีเพิ่มบทความใหม่

ขั้นตอนการเพิ่มบทความใหม่
1. เลือกบทความที่ต้องการ แล้ว copy บทคความนั้น


2. เปิดหน้า bloggerของเรา แล้ว คลิ๊กที่ "บทความใหม่" (กรอบสีน้ำเงิน)



3. พิมพ์ชื่อเรื่อง ข้อความ ป้ายกำกับบทความ




4. แล้ววางบทความที่ copy มา



5. ถ้าต้องการแทรกรูปภาพ ให้ copy ที่รูปภาพ แล้วคลิกขวา เลือก save As


6. จัดเก็บ รูปภาพที่ copy มา ลงในโฟลเดอร์ที่ต้องการ แล้วกด save



7. เปิด blog แล้วเลือกแถบเครื่องมือ เพิ่มรูปภาพ


8.กด browse เลือกรูปภาพจากแฟ้มที่ copy ไว้ แล้วกด -open และ -กด อัพโหลดรูปภาพ และ-เสร็จสิ้น

9. จะได้รูปที่อัพโหลดมา แล้วเลือกวางรูปในตำแหน่งที่ต้องการ


10. กด เผยแพร่บทความ จากนั้นจะขึ้นหน้าต่าง ดูบล็อก เป็นอันเสร็จสิ้นการเพิ่มบทความใหม่

สถานที่ท่องเที่ยว เกาะช้าง




ข้อมูลท่องเที่ยวเกาะช้าง เดิมเป็นเกาะที่ไม่มีชุมชนตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยหากมีความสำคัญในฐานะที่เป็นท่าจอดเรือหลบลมมรสุม เป็นแหล่งเสบียงอาหาร และน้ำจืดโดยเฉพาะบริเวณอ่าวสลักเพชรหรืออ่าวสลัด เป็นที่รู้จักกันดีในหมู่โจรสลัดชาวจีนไหหลำ และญวน ปัจจุบันบนเกาะช้างมีประชาชนอาศัยอยู่ ๘ หมู่บ้าน เกาะช้างเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นอันดับ ๒ ของประเทศรองจาก เกาะภูเก็ต มีเนื้อที่ประมาณ ๔๒๙ ตารางกิโลเมตร ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเขาสูงมีผาหินสลับซับซ้อนยอดเขาที่สูงที่สุด ได้แก่ เขาสลักเพชร มีความสูง ๗๔๔ เมตร สภาพป่าโดยทั่วไปอุดมสมบูรณ์ ส่วนใหญ่เป็นป่าดิบเขา อันเป็นบ่อเกิดของต้นน้ำลำธารทำให้มีน้ำตกหลายแห่งบนเกาะ ชายหาด และปะการังที่สวยงามอยู่ทางด้านตะวันตกของเกาะ เกาะช้าง เป็นเกาะที่มีทะเลล้อมรอบทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยบริเวณเกาะช้างเหมาะแก่การพักผ่อนคือไม่ร้อนจัด หรือหนาวจนเกินไป สำหรับอิทธิพลจากมรสุมนั้น เกาะช้างได้รับอิทธิพลทั้งจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากอิทธิพลดังกล่าวทำให้เกิดข้อจำกัดในการเดินทางด้วยเรือคือ ในช่วงฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ประมาณเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม ชายฝั่งด้านตะวันตกซึ่งเป็นด้านรับลมจะมีคลื่นลมแรงไม่เหมาะ
สมที่จะเดินทางได้ ประมาณเดือนพฤศจิกายน-พฤษภาคมเป็นช่วงที่มีคลื่นน้อยที่สุด

ข้อมูลเพิ่มเติม
http://th.upload.sanook.com/A0/5f4b6c4869852e1cd088ec728a9705b2

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ยาสมุนไพรรักษาโรค

ที่มา http://www.thaihealth.or.th/node/5173

เผย 28 เคล็ดลับยาสมุนไพรรักษาโรค
แนะ! กระเทียม ช่วยลดไขมันในหลอดเลือดได้
การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้นอาจใช้ ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูปตำรับ ยาสมุนไพร ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้มีทั้งหมด 28 ขนาน เช่น

ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้ แก้ตัวร้อน

ยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส

ยาหอมเทพพิจิตร แก้ลม บำรุงหัวใจ

ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย

ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ

ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็ก ระบายพิษไข้

สมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆ รักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่

สมุนไพรแก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด

สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ

สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว

สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย

สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่

สมุนไพรแก้เชื้อรา กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ

สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมียและตัวผู้

สูตรสมุนไพรบำรุงผิวหน้า

1.ว่านหางจระเข้ : บำรุงผิว ป้องกันฝ้า ลบรอยจุด ด่างดำ รักษาสิว

2.แตงกวา : สมานผิว ลบรอยเหี่ยวย่น

3.มะเขือเทศ : สมานผิว ลดรอยเหี่ยวย่น จุดด่างดำ

4.ขมิ้นสด : บำรุงผิวหน้าผุดผ่องสดใสอ่อนวัย และช่วยให้สิวยุบเร็ว

5.กล้วยน้ำว้าสุก : บำรุงผิวนุ่มเนียนอ่อนวัย

6.หัวไชเท้า : ช่วยลดรอยฝ้าและกระให้จางหาย

สมุนไพรที่มีสารต้านเซลล์มะเร็ง

มะกรูด ผักแขยง ขึ้นฉ่าย บัวบก ผักชีฝรั่ง กระชาย ข่าใหญ่ มันเทศ ใบมะม่วง มะกอก เบญจมาศ แขนงกะหล่ำ แตงกวา พริกไทย ดีปลี โหระพา กะเพรา ใบตะไคร้ ถั่ว ผักแว่น ผักขวง เพกา ช้าพลู (ชะพลู) ลูกผักชี เร่ว เหงือกปลาหมอ ขมิ้นอ้อย หัวหอมแดง หอมหัวใหญ่ กระเทียม ฯลฯ

สมุนไพรที่มีสารแอนตี้ออกซิแดนต์ (วิตามินเอ ซี อี)

วิตามินเอสูง ได้แก่ ใบยอ ใบย่านาง ตำลึง ผักกูด มะระ กระสัง ผักแพว ผักชีลาว ผักแว่น ผักบุ้ง เหลียงกระเจี๊ยบแดง แมงลัก ชะอม พริกชี้ฟ้าแดง แพงพวย ขี้เหล็ก ฯลฯ

วิตามินซีสูง ได้แก่ มะขามป้อม ฝรั่ง มะปราง ขนุน ละมุด มะละกอ มะกอก ส้ม มะขาม ลูกหว้า พุทรา ฯลฯ

วิตามินอีสูง ได้แก่ พวกธัญพืชต่างๆ เช่น งาดำ ข้าวซ้อมมือ จมูกข้าว ข้าวโพด ฯลฯ

เบตาแคโรทีนสูง ได้แก่ แคร์รอต ฟักทอง แค กะเพรา แพชั่นฟรุต ขี้เหล็ก ผักเชียงดา ยอดฟักข้าว ผักแซ่ว ฯลฯ

สมุนไพรไทยและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติที่แสดงฤทธิ์ยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง

พืชสมุนไพร บวบขม จำปีป่า ปลาไหลเผือก ทองพันชั่ง เจตมูลเพลิงแดง ราชดัด ฝาง แสมสาร ติงตัง ขมิ้นต้น ฟ้าทะลายโจร กระเทียม ประยงค์ รงทอง ข่อย ขมิ้นชัน แกแล สมอไทย ขันทองพยาบาท

เครือเถาวัลย์ ดองดึง โล่ติ้น เจตมูลเพลิงขาว มังคุด โทงเทง ทับทิม จำปา ไพล ปรู จำปีหลวง พลับพลึง สบู่ดำ แพงพวยฝรั่ง สีเสียด กะเม็ง สมอพิเภก

สมุนไพรกับโรคความดันโลหิตสูง


ในการรักษาโรคความดันโลหิตสูงจะต้องได้รับการควบคุมดูแลจากแพทย์แผนปัจจุบัน และในการนำสมุนไพรมาใช้ใน ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะต้องระมัดระวัง และจะต้องตรวจวัดความดันโลหิตอย่างสม่ำเสมอจากแพทย์แผนปัจจุบัน สมุนไพรที่ใช้ขับปัสสาวะมีดังนี้

หญ้าหนวดแมว ในใบของหญ้าหนวดแมวจะมีเกลือโพแทสเซียมปริมาณ 0.7-0.8% ใช้ใบอ่อนเป็นยาขับปัสสาวะที่มีประสิทธิภาพสูง เนื่องจากเกลือโพแทสเซียมในใบอ่อนจะมีปริมาณสูง ตามตำรายาไทยใช้แก้โรคปวดตามสันหลังและเอว ใช้ขับนิ่วและลดความดันโลหิตสูง

ข้อควรระวัง

1.เนื่องจากหญ้าหนวดแมวมีเกลือโพแทสเซียมสูงจึงไม่ควรใช้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจ

2.ควรใช้การชง ไม่ควรใช้การต้ม และควรใช้ใบอ่อน เพราะใบแก่จะมีเกลือโพแทสเซียมละลายออกมามาก มีฤทธิ์กดหัวใจ ทำให้หายใจผิดปกติได้

3.ควรใช้ใบตากแห้ง ถ้าใช้ใบสดจะมีอาการคลื่นไส้และหัวใจสั่น

4.ไม่ควรใช้หญ้าหนวดแมวคู่กับยาแอสไพริน เพราะจะทำให้ยามีฤทธิ์ต่อหัวใจมากขึ้น

5.ก่อนการใช้ควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบันและได้รับการดูแลอย่างสม่ำเสมอเพื่อความปลอดภัย

หญ้าคา ในรากหญ้าคามีสารอะรันโดอินและไซลินดริน ทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด ตามตำรับยาไทยใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้ขัดเบา โดยต้นหญ้าคาสด 40-50 กรัม (น้ำหนักแห้ง 10-15 กรัม) หรือ 1 กำมือ ต้มดื่มก่อนอาหารวันละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1 ถ้วยชา (75 มิลลิลิตร)

หมายเหตุ การใช้สมุนไพรขับปัสสาวะทุกชนิดต้องปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน เนื่องจากการใช้ยาขับปัสสาวะเกินขนาดอาจจะเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยได้

สรรพคุณสมุนไพรที่ช่วยลดไขมันในหลอดเลือด

1.น้ำมันเมล็ดดอกคำฝอย จากการวิจัยในสัตว์ทดลองและในคนพบว่าน้ำมัน เมล็ดดอกคำฝอยช่วยทำให้ปริมาณคอเลส เตอรอลในเลือดลดลงและลดการอุดตัน ไขมันในหลอดเลือดได้

2.กระเทียม มีสารอัลลิซินที่มีฤทธิ์ลด ไขมันในหลอดเลือดได้ ซึ่งจะใช้กระเทียม ประมาณ 5-7 กลีบ รับประทานหลังอาหารทุกมื้อ เป็นเวลา 1 เดือน ปริมาณคอเลส เตอรอลในเลือดจะลดลง

3.ถั่วเหลือง ในถั่วเหลืองจะมีกรด อะมิโน เลซิติน และวิตามินอีสูง จะช่วยลดระดับไขมันในหลอดเลือด

การปฏิบัติเพื่อป้องกันการเกิดโรคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ

1.การรับประทานอาหารที่มีไขมันน้อย เช่น ปลา ผัก ผลไม้ อาหาร สมุนไพร ไม่รับประทานอาหารรสเค็มจัด

2.การออกกำลังกายสม่ำเสมอ

3.การพักผ่อนให้เพียงพอ

4.ตรวจร่างกายประจำทุกปี

สรุปรายชื่อสมุนไพรที่ควรใช้ในรูปอาหารกับโรคเบาหวาน ได้แก่

บอระเพ็ด มะระไทย ลูกใต้ใบ หญ้าใต้ใบ มะแว้ง เครือมะแว้ง ต้นตำลึง ฟ้าทะลายโจร สะตอ ว่านหางจระเข้ แมงลัก อินทนิลน้ำ หอมใหญ่ กระเทียม หญ้าหนวดแมว เตยหอม ฝรั่ง ช้าพลู ขี้เหล็ก สะเดา ผักบุ้ง สักกำแพงเจ็ดชั้น มวกแดง-ขาว ชะเอมไทย รากลำเจียก รากคนทา

หมายเหตุ - การรักษาโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์แผนปัจจุบัน เพราะการใช้ยาลดระดับน้ำตาลร่วมกับยาแผนปัจจุบันอาจจะทำให้น้ำตาลลดลงมากเกินไป เป็นอันตรายได้ จึงแนะนำให้ใช้สมุนไพรในรูปของการปรุงอาหารในชีวิตประจำวัน

สมุนไพรกับโรคเอดส์

รายงานการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับสมุนไพรรักษาโรคเอดส์มีการศึกษาเกี่ยวกับสมุนไพรหลายชนิด

โปรตีนจากระหุ่ง แม้ว่าจะมีพิษแต่ก็มีผู้พบว่าส่วนหนึ่งของโปรตีน Ricin ซึ่งเป็นพิษคือ dg A สามารถจับ antibody ของ HIV ซึ่งทำให้ไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส โดยมีผลต่อเซลล์ปกติเพียง 1/1,000 ของเซลล์ที่มีไวรัส

การค้นพบนี้อาจเป็นจุดเริ่มต้นในการพบยาที่ป้องกันหรือยืดเวลาในการเกิดโรคเอดส์

Hypericum spp.

พืชสกุลนี้บ้านเรามี บัวทอง (Hyperi cum garrettii Craib) มีผู้สกัดสาร Hypericin และ Pseudohypericin จากพืชนี้ พบว่ามีฤทธิ์ป้องกันการขยายตัวของไวรัสเอดส์

Castanospermun australe

Tyms และคณะได้พบว่าแอลคาลอยด์ 3 ชนิด มีผลยับยั้งเอนไซม์ที่ช่วยให้ไวรัสจับกับ T-cells ซึ่งสำคัญในการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และแอลคาลอยด์ที่ให้ผลดีที่สุดคือ Castanospermine จาก Castanospermum australe ไม้ยืนต้นของออสเตรเลีย และสารนี้มีพิษน้อย มีฤทธิ์ข้างเคียง เช่น น้ำหนักลด ท้องเสีย

ยังไม่มีสมุนไพรใดที่ใช้รักษาโรคเอดส์ได้จริงจัง ส่วนใหญ่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง ซึ่งบางอย่างก็ทดลองโดยไม่ถูกกฎหมาย แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาสมุนไพร ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการจะค้นพบยารักษาโรคนี้

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ 10 ปรากฎการณ์ประหลาด จากเหตุ "โลกร้อน!"

ที่มาhttp://hilight.kapook.com/view/11990

10 ปรากฎการณ์ประหลาด จากเหตุ "โลกร้อน!"
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากภัย "โลกร้อน" ไม่เพียงแต่ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดเจน อาทิ อากาศร้อนขึ้น น้ำแข็งขั้วโลกละลาย หรือระดับน้ำทะเลโลกสูงขึ้นเท่านั้น แต่ปัจจุบันยังเป็นต้นเหตุของปรากฎการณ์แปลกๆ มากมาย ซึ่งเกี่ยวพันกับการหายสาบสูญของทะเลสาบ โรคภูมิแพ้โดยไม่ทราบสาเหตุ วิถีโคจรของดาวเทียมในอวกาศ ฯลฯ!

สารภูมิแพ้แพร่ระบาด
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ ในประเทศสหรัฐอเมริกาได้เกิดปรากฎการณ์ประหลาดขึ้นทุกๆ ช่วงฤดูใบไม้ผลิ นั่นคือ ประชาชนไอ จาม ป็นภูมิแพ้ และหอบหืดกันง่ายขึ้นและบ่อยขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่า วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปกับสภาพมลพิษในอากาศ เป็นสาเหตุสำคัญของอาการดังกล่าว
อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยใหม่ๆ ชี้ให้เห็นว่า วิกฤตอุณหภูมิโลกร้อนขึ้นและมีระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศมากขึ้น คือต้นเหตุทำให้พืชพรรณต่างๆ ผลิใบเร็วกว่าเดิม ขณะเดียวกันปริมาณละอองเกสรที่ฟุ้งกระจายไปตามอากาศก็มากขึ้นเช่นกัน คนที่เป็นภูมิแพ้หรือหอบหืดเมื่อสูดละอองเหล่านี้เข้าไปมากๆ อาการจึงกำเริบง่าย


สัตว์อพยพไร้ที่อยู่
ผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน ทำให้สัตว์บางชนิด เช่น กระรอก ตัวชิปมังก์ หรือแม้กระทั่งหนู ต้องอพยพหนีขึ้นไปอยู่บนที่สูงขึ้น
สัตว์ที่กำลังเผชิญปัญหาใหญ่ ได้แก่ "หมีขั้วโลก" ที่ในอนาคตอาจมีชีวิตอยู่ในถิ่นฐานเดิมแถบอาร์กติก ขั้วโลกเหนือไม่ได้ เนื่องจากธารน้ำแข็งละลายอย่างรวดเร็ว


"พืช" ขั้วโลกคืนชีพ
ช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผลจากภาวะน้ำแข็งขั้วโลกละลายเพราะโลกร้อน ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของพืชและสัตว์จำนวนมาก ตามปกติ พืชแถบอาร์กติกจะถูกปกคลุมอยู่ในน้ำแข็งตลอดทั้งปี
แต่ปัจจุบัน เมื่อน้ำแข็งละลายมากขึ้นเรื่อย โดยเฉพาะในช่วงก่อนฤดูใบไม้ผลิต จึงทำให้พืชที่เคยถูกห่อหุ้มด้วยน้ำแข็งกลายเป็นอิสระ สามารถเริ่มกระบวนการสังเคราะห์แสงและกลับมาเติบโตขึ้นอีกครั้ง กลายเป็นอีก 1 ปรากฎการณ์ใหม่ของพื้นที่ขั้วโลกเหนือ ทะเลสาบหายสาบสูญ
เรื่องประหลาดๆ ที่เกิดขึ้นในเขตอาร์กติก หรือ ขั้วโลกเหนือยังไม่หมดแค่นั้น มีงานวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมา "ทะเลสาบ" ประมาณ 125 แห่งได้หายสาบสูญไปจากเขตอาร์กติก เป็นสัญญาณหนึ่งที่ช่วยให้เห็นว่า ภัยโลกร้อนส่งผลกระทบเร็วมากต่อสภาพแวดล้อมแถบขั้วโลก
สาเหตุที่ทะเลสาบหายไปก็เพราะ "เพอร์มาฟรอส" ที่เป็นน้ำแข็งแข็งตัวอยู่ใต้พื้นทะเลสาบนั้นละลายหมดสิ้นไป ดังนั้น น้ำในทะเลสาบจึงซึมเข้าสู่พื้นดินข้างใต้ได้ เหมือนกับเวลาเราดึงจุกปิดน้ำออกจากอ่างอาบน้ำแล้วน้ำจึงไหลหมดไปจากอ่างนั่นเอง
นอกจากนี้ การที่ทะเลสาบขั้วโลกหายวับไป ยังส่งผลลูกโซ่ปั่นป่วนไปถึงระบบนิเวศในพื้นที่ที่พึ่งพิงน้ำจากทะเลสาบอีกด้วย น้ำแข็งใต้พื้นโลกละลาย
ภาวะโลกร้อนไม่ได้เพียงแค่ทำให้ธารน้ำแข็งขั้วโลกละลายอย่างต่อเนื่องเท่านั้น แต่ยังส่งผลให้ชั้นน้ำแข็งถาวรที่มีอยู่ใต้พื้นผิวโลกค่อยๆ ละลายลดปริมาณลงไปเช่นกัน
ผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นตามมาในอนาคตก็คือ จุดใต้พื้นโลก ซึ่งเคยเป็นน้ำแข็งหายไปจนเกิดเป็น "รูรั่ว" ใต้ดินขึ้นมา เมื่อเป็นเช่นนี้สภาพทางภูมิศาสตร์ในพื้นที่ย่อมเปลี่ยนไป สิ่งปลูกสร้าง หรือ สิ่งก่อสร้างของมนุษย์ เช่น ทางรถไฟ ถนน บ้านเรือน ฯลฯ ซึ่งตั้งอยู่เหนือจุดดังกล่าวมีโอกาสได้รับความเสียหายตามไปด้วย ถ้าปรากฎการณ์น้ำแข็งละลายเกิดขึ้นบนที่สูง เช่น ภูเขา จะก่อให้เกิดภัยธรรมชาติตามมา อาทิ หินถล่มและโคลนถล่ม เป็นต้น ชนวนเกิดไฟป่า
นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่ยืนยันตรงกันทั่วโลก ว่าภัยโลกร้อนเป็นสาเหตุให้ธารน้ำแข็งละลายและพายุก่อตัวบ่อยและรุนแรงขึ้นกว่าในอดีต ยิ่งไปกว่านั้น ภาวะโลกร้อนยังเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้เกิด "ไฟป่า" ได้ง่ายขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก
และชาติเมืองหนาวในซีกโลกตะวันตก ซึ่งตามปกติไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องไฟป่า ก็เริ่มรู้สึกถึงความเปลี่ยนแปลงนี้กันแล้ว เหตุเพราะสภาพป่าแห้งกว่าเดิม จึงเป็นเชื้อไฟอย่างดี ผู้แข็งแกร่งเท่านั้นถึงอยู่รอด
โลกร้อนส่งผลให้หน้าหนาวหดสั้นลง และหน้าร้อนมาถึงเร็วขึ้น บรรดา "นกอพยพ" หลายสายพันธุ์ต่างมึนงง ปรับ "นาฬิกาชีวภาพ" ในตัวของมันให้เข้ากับสภาพความผันแปรของฤดูกาลที่บิดเบี้ยวไปไม่ทัน สัตว์ที่จะเอาชีวิตรอดจากสภาพภูมิอากาศแปรปรวนในทุกวันนี้ได้ต้องเป็นสายพันธุ์ที่แข็งแรงที่สุดเท่านั้น
ในที่สุดสัตว์ที่อยู่รอดจะต้อง "กลายพันธุ์" หรือปรับพันธุกรรมในตัวมันเสียใหม่ เพื่อรับมือภัยโลกร้อนให้ได้ และมีสัตว์หลายชนิดกำลังวิวัฒนาการตัวเองเช่นนั้นอยู่


ดาวเทียมโคจรเร็วกว่าเดิม
การ
ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากโรงงานอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้าถ่านหิน ยวดยานพาหนะ ฯลฯ คือ ตัวการสำคัญของวิกฤตโลกร้อน
ล่าสุดพบว่า เจ้าก๊าซตัวเดียวกันนี้เองที่ขึ้นไปสะสมมากขึ้นในชั้นบรรยากาศโลก ได้กลายเป็นต้นเหตุทำให้ "ดาวเทียม" ที่อยู่ในวงโคจรโลกเคลื่อนที่เร็วกว่าเดิม
ตามปกติ อากาศในบรรยากาศชั้นนอกสุดของโลกจะเบาบาง แต่โมเลกุลของอากาศจะยังคงมีแรงดึงดูดมากพอในการทำให้ดาวเทียมโคจรช้าๆ ดังนั้น เราอาจเคยได้ยินข่าวกันมาบ้างว่า ผู้ควบคุมต้องจึดระเบิดดาวเทียมเป็นระยะๆ เพื่อให้ดาวเทียมโคจรต่อไปอย่างถูกต้อง
อย่างไรก็ตาม เมื่อคาร์บอนไดออกไซด์ลอยไปสะสมในบรรยากาศชั้นล่างมากไป จะทำแรงดึงดูดของบรรยากาศชั้นนอกสุดลดกำลังลง ดาวเทียมจึงโคจรเร็วกว่าปกติ ภูเขากระเด้งตัวเหนือพื้นโลก
ภูเขาและเทือกเขาสูงหลายแห่งทั่วโลกกำลังขยายตัว "สูง" ขึ้น เพราะผลจากโลกร้อน! นั่นเป็นเพราะ ตามธรรมชาติที่ผ่านๆ มานับพันปี ยอดภูเขาในเขตหนาวเย็นโดยทั่วไปจะมี "น้ำแข็ง" ปกคลุมอยู่ ทำหน้าที่เป็นเหมือนกับตุ้มน้ำหนักที่คอยกดทับให้ฐานล่างของภูเขาทรุดต่ำลงไปใต้พื้นผิว
เมื่อน้ำแข็งบนยอดเขามลายสูญสิ้นไป ส่วนฐานล่างที่เคยถูกกดจมดินลงไปจะค่อยๆ กระเด้งคืนตัวกลับมาเหนือผิวโลกอีกครั้ง


โบราณสถานเสียหาย
โบราณสถาน เมืองเก่าแก่ ซากปรักหักพังทางประวัติศาสตร์ ฯลฯ อันเป็นสิ่งแสดงถึงวัฒนธรรมอันรุ่งเรื่องของมนุษย์ในอดีตได้รับผลกระทบจากโลกร้อน
เหตุเพราะโลกร้อนทำให้อากาศทั่วโลกแปรปรวน ทั้งเกิดพายุ น้ำท่วม ภัยแล้ง ระดับน้ำทะเลเพิ่มสูง และล้วนแต่ยิ่งสร้างความเสียหายให้กับมรดกตกทอดทางประวัติศาสตร์ดังกล่าว ซึ่งมีสภาพทรุดโทรมอยู่แล้ว
โบราณสถานอายุ 600 ปีในจังหวัดสุโขทัยของประเทศไทยเรา ก็เคยเสียหายอย่างหนักเพราะภัยน้ำท่วมใหญ่ ซึ่งเป็นผลจากภัยโลกร้อน มาแล้วเช่นกัน

วันพุธที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ปลูกป่าแก้โรคร้อน

ที่มา http://praewaun.igetweb.com/index.php?mo=3&art=261839


สมการปลูกป่า + พืชพลังงาน = แก้โรคร้อนได้จริงหรือ

ผลพวงจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น หรือปรากฏการณ์โลกร้อน เริ่มเป็นที่ตระหนักชัดแล้วว่ามันกำลังนำหายนะภัยมาสู่มวลสรรพชีวิตบนโลกใบนี้ ด้วยการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวถูกนำมาเป็นหัวข้อสำคัญในการเสวนาของหลายๆ ประเทศทั่วโลก เพื่อหาแนวทางป้องกันและลดผลกระทบที่เกิดขึ้นแล้ว และกำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

กรณีของประเทศไทย มีหนึ่งในแนวทางป้องกันและลดผลกระทบจากสภาวะโลกร้อนที่ถูกชูเป็นวาระระดับชาติด้วยเช่นกัน โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นผู้นำกับ “นโยบายเพิ่มพื้นที่ป่า” เพื่อเป็นแหล่งดูดซับก๊าซและสารต่างๆ ที่ก่อให้เกิดสภาวะเรือนกระจก
โดยการใช้พันธุ์ไม้โตเร็วปลูกป่า และไม้โตเร็วเหล่านั้นต้องสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบ เพื่อผลิตพลังงานหมุนเวียนได้อีกด้วย แต่ในทางกลับกัน กรอบคิดการขยายพื้นที่ป่าที่ผนวกเข้ากับความต้องการแสวงหาความมั่นคงทางพลังงานนี้ ได้สร้างความสงสัยและเกิดข้อกังวลขึ้นมาว่า เป็นนโยบายที่เน้นแต่การส่งเสริมพลังงานทดแทนเพื่อตอบสนองการบริโภค แต่อาจไม่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และรัฐเองไม่ได้แสดงออกถึงเจตนารมณ์ที่จะมุ่งมั่นลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจังเลย...

ขยายป่าไม้โตเร็ว - ทางเลือกพลังงานที่ไม่ลดโลกร้อน
เมื่อช่วงปลายปี 2550 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ออกมาประกาศ “ทิศทางไทยสู้ภัยโลกร้อน” เพื่อให้ทั้งภาครัฐและเอกชนดำเนินนโยบายและแนวปฏิบัติตามยุทธศาสตร์แห่งชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ พ.ศ. 2550-2554 โดยมีแนวนโยบายและแนวปฏิบัติสำหรับภาคส่วนต่างๆ 4 ภาคส่วน คือ 1. ภาคพลังงาน 2. ภาคอุตสาหกรรม 3. ภาคเกษตรกรรม และ 4. ภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียว
โดยในภาคป่าไม้และพื้นที่สีเขียว ให้มีการเพิ่มแหล่งดูดซับก๊าซเรือนกระจกด้วยการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างจริงจัง โดยดำเนินโครงการตามแนวพระราชดำริด้านป่าไม้ รวมทั้งจะดำเนินการอนุรักษ์และฟื้นฟูตามมาตรการอื่นๆ มุ่งเน้นการปลูกป่าและรณรงค์เพิ่มพื้นที่สีเขียวในชุมชนเมือง [1]

ภายหลังต่อมา นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) ก็ออกมาแถลงมอบนโยบายให้กรมป่าไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช และทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งสำรวจพื้นที่ป่าเสื่อมโทรม หรือพื้นที่ป่าที่เคยถูกทำลาย เพื่อหาขอบเขตพื้นที่ป่าที่ชัดเจนที่จะใช้ในการวางแผนด้านการส่งเสริมการปลูกป่าและฟื้นฟูอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าให้สอดคล้องตามข้อกำหนดของ FAO ที่ระบุจำนวนพื้นที่ป่าที่สมดุลของไทยควรจะมีไม่น้อยกว่า 128 ล้านไร่ ของจำนวนพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย 320.7 ล้านไร่

นอกจากนี้ ยังมอบหมายให้กรมอุทยานฯ ดำเนินการปักหมุดเขตแดน ของป่าสงวนแห่งชาติ และเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าให้เสร็จภายใน 2 ปี รวมทั้งการจัดการที่ดิน ส.ป.ก.ให้ถูกต้องตามมติ ครม. เพื่อให้ชาวบ้านใช้พื้นที่ดังกล่าวปลูกป่า โดยเฉพาะให้ปลูกไม้โตเร็ว เพื่อนำไปใช้ในโครงการโรงใช้ไฟฟ้าชีวมวล [2]
อย่างไรก็ตาม ข้อสังเกตเกี่ยวกับแนวทางในการเพิ่มพื้นป่าเพื่อลดภาวะโลกร้อนตามนโยบายของหน่วยงานรัฐตามที่ประกาศไว้ มีลักษณะสำคัญที่ชี้ให้เห็นว่าขัดแย้งกับหลักการลดปัญหาโลกร้อน กล่าวคือ การขยายพื้นที่ป่าสัมพันธ์กับการปลูกพันธุ์ไม้โตเร็วเพื่อใช้ในการผลิตพลังงานเพื่อการค้า เมื่อเป็นดังนั้น ย่อมหมายถึงการปลูกป่าในลักษณะพืชเชิงเดี่ยวที่ขาดองค์ประกอบด้านความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งลักษณะป่าเช่นนี้มีความสามารถในการดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ต่ำกว่าป่าที่มีความสมดุลของระบบนิเวศน์อยู่แล้ว ทั้งยังก่อให้เกิดผลกระทบโดยตรงต่อดิน และน้ำ

ไม่เพียงเท่านั้น การนำไม้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานจำเป็นต้องตัดโค่น และเวียนสลับกับการปลูกใหม่อยู่เสมอ และที่สำคัญกระบวนการนำเนื้อไม้มาเผาเพื่อให้ได้ความร้อนไปผลิตพลังงานไฟฟ้า ยังไม่สามารถแก้ข้อสงสัยว่าจะช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนได้อย่างไร หรือเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร ในเมื่อพื้นที่ป่าปลูกเพื่อหวังให้เป็นแหล่งดูดซับก๊าซนี้กลับกลายเป็นป่าที่ถูกนำมาใช้เพื่อการผลิตพลังงานเสียเอง ถูกตัดแล้วปลูกอีก วนซ้ำไปมา เนื้อที่ป่าสมบูรณ์ก็ไม่มีวันเป็นจริง
เพิ่มศักดิ์ มกราภิรมย์ สมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการวิทยาลัยการจัดการทางสังคม (วจส.) กล่าวว่า นโยบายการขยายพื้นที่ปลูกป่าไม้ที่ควบคู่ไปกับแนวคิดการนำไม้มาเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือก เพื่อนำมาทดแทนการนำเข้าน้ำมันปิโตรเลียมนั้น เกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัย ยุคขาดแคลนพลังงานในช่วงปี 2517-2518 แล้ว กระนั้น การปลูกป่าหรือพืชเพื่อนำมาผลิตพลังงาน ยังไม่ประสบความสำเร็จ เพราะราคาน้ำมันก็ถูกลง จึงกลับมาใช้น้ำมันกันอีก

ส่วนนโยบายปลูกพืชพลังงานก็ล้มเลิกไป แต่นั่นก็เป็นความคิดที่ดี ซึ่งรัฐบาลก็ต้องคิดทบทวนให้มาก และรอบด้านยิ่งขึ้น ไม่ใช่เพียงเพื่อแก้วิกฤตปัญหาการขาดแคลนพลังงาน แต่รวมไปถึงปัญหาสภาพสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรม ปัญหาเกษตรกรไม่มีที่ดินทำกิน เกษตรกรรายย่อยแข่งขันสู่ทุนเกษตรขนาดใหญ่ไม่ได้ ขาดทุนเป็นหนี้สิน แต่รัฐต้องคำนึงถึงปัญหาพลังงาน สังคม สิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจไปพร้อมๆ กันด้วย
ทั้งนี้ การขีดพื้นที่เพื่อการปลูกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อนำมาผลิตพลังงานทดแทน ท้ายที่สุดแล้ว นอกจากปัญหาการขาดแคลนพลังงานจะแก้ไม่ได้มากแล้ว กลับก่อปัญหาต่างๆ ขึ้นมาด้วย
อาทิ การปลูกไม้เนื้ออ่อน ชนิดเดียวขึ้นในพื้นที่ขนาดใหญ่ จะนำมาสู่ปัญหาเรื่องน้ำ ทำลายความหลากหลายทางชีวภาพทั้งพืชและสัตว์ พืชบางชนิดยังเพิ่มอุณหภูมิในบรรยากาศให้สูงขึ้นด้วย ซึ่งหากลองเดินเข้าไปในป่ายูคาลิปตัส ก็จะพบว่าอุณหภูมิสูงกว่าป่าตามธรรมชาติ อีกทั้งยังไม่ช่วยลดก๊าซคาร์บอนฯ ในชั้นบรรยากาศ เพราะว่าปลูกขึ้นมาแล้วก็ตัดไป

“ผมคิดว่านโยบายการปลูกป่า ต้องมีวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย ไม่ใช่เพียงเพื่อแค่วัตถุประสงค์เดียวที่มุ่งนำไปผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งไม่ได้ช่วยลดภาวะโลกร้อน แต่สิ่งที่ปรากฏกลับเป็นการปลูกป่าพืชพลังงาน ซึ่งเป็นพืชเชิงเดี่ยวที่ดูดน้ำใช้ในปริมาณมาก ทำให้แหล่งน้ำในหลายพื้นที่แห้งขอด ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทำกิน พื้นที่อยู่อาศัยของประชาชน” นายเพิ่มศักดิ์ กล่าว

“ป่า” องค์รวมระบบนิเวศน์ที่ไม่แยกส่วน
สภาพปัญหาป่าไม้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศ ได้เป็นที่มาของแนวคิดการปลูกป่าลดโลกร้อนจนเรียกได้ว่าฮิตติดเทรนด์อยู่ในทุกๆ ภาคส่วนของสังคมไปแล้ว ทว่าในการปลูกป่า เพื่อนำไปสู่การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมให้อุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนนั้น จำเป็นต้องสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับความหมายของคำว่า “ป่า” ที่มิใช้เพียงพื้นที่ที่มีต้นไม้ชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น แต่มีองค์ประกอบของระบบธรรมชาติที่เกื้อกูลสัมพันธ์กัน และไม่แยกขาดจากกัน
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO : Food and Agriculture Organization of the United Nations) ให้ความนิยามว่า “ป่า” หมายถึง “บรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่างๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญโดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้า”
นอกจากนี้ ป่าไม้คือพื้นที่หรืออาณาบริเวณที่ปกคลุมไปด้วยต้นไม้หลายชนิดและมีขนาดลดหลั่นกันลงมา รวมทั้งมีสัตว์ป่านานาชนิดเป็นองค์ประกอบ เป็นระบบนิเวศวิทยาขนาดใหญ่ ที่มีการสร้างและถ่ายทอดพลังงานอย่างสมดุล ป่าไม้เป็นต้นกำเนิดชีวิต เป็นแหล่งพลังงาน แหล่งอาหาร ยา-สมุนไพร เป็นต้นแม่น้ำ ลำธาร ยังคอยดูดซับความชื้น เป็นเครื่องปรับอากาศปอดของโลกอีกด้วย
ถึงแม้ว่าเราจะจัดป่าไม้เป็นทรัพยากรหมุนเวียนที่สามารถสร้างขึ้นทดแทนขึ้นใหม่ได้ แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน หากมนุษย์ใช้ทรัพยากรป่าไม้โดยปราศจากการดูแลรักษา หรือขาดการจัดการอย่างถูกต้องและยั่งยืน ย่อมส่งผลให้ป่าไม้เสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งผลเสียที่กระทบต่อมนุษย์และระบบนิเวศน์จะเป็นไปอย่างรุนแรง จนไม่อาจควบคุมภัยธรรมชาติต่างๆได้ [3]
ด้านนายเพิ่มศักดิ์ กล่าวว่า สภาพความสมดุลของป่าสำหรับประเทศไทยควรมีพื้นที่ป่าอย่างน้อย 30 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ประเทศ หรือ ควรมีพื้นที่ป่าอย่างน้อยประมาณ 1 ใน 3 ของพื้นที่ทั้งหมด และไม่ควรมองว่าสัดส่วน 30 เปอร์เซ็นต์นี้จะเป็นพื้นที่ป่าอย่างเดียวโดยแยกส่วนออกจากชุมชนอย่างชัดเจน
เราไม่ควรแยกป่าและคนหรือชุมชนออกจากกัน ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ ภูมิประเทศส่วนใหญ่กว่า 85 เปอร์เซ็นต์เป็นพื้นที่สูง เป็นภูเขา เป็นพื้นที่ป่าที่ต้องรักษาไว้เป็นเขตต้นน้ำ ส่วนพื้นที่ราบ ป่าก็ถูกถางออกจนหมด กลายเป็นชุมชน หรือเมือง อยู่ในลักษณะที่ป่าปราศจากชุมชน ชุมชนก็ไม่มีป่า
“ป่าต้องเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและสังคม ‘ป่า’ ไม่ใช่เพียงวัตถุ หรือต้นไม้เท่านั้น ต้นไม้อย่างเดียวก็ไม่ถือว่าเป็น ‘ป่า’ แต่ต้นไม้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญหนึ่งในสามของป่า ซึ่งประกอบด้วย 1. ลักษณะทางกายภาพ ดิน หิน น้ำ 2. องค์ประกอบทางชีวภาพ คือ ต้นไม้ สัตว์ป่า สิ่งมีชีวิตต่างๆ และ 3. จิตวิญญาณ ของมนุษย์ สัตว์ ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในป่า ‘ป่า’ จึงจะสมบูรณ์ได้ ทุกพื้นที่ หมู่บ้าน ตำบล อำเภอหรือจังหวัดใดๆ ควรมีป่า ไม่ใช่อนุรักษ์ให้พื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งมีแต่ป่า และอีกพื้นที่หนึ่งทำลายป่า นอกจากนี้ สวนไม้ยืนต้น สวนยางพารา สวนยูคาลิปตัส หรือสวนปาล์มน้ำมันก็ไม่ถือว่าเป็นป่า” นายเพิ่มศักดิ์ กล่าว

พลังงานหมุนเวียน ทางเลือกที่ไม่ทำลายป่า
ในขณะที่ภาครัฐให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพืชพลังงานเพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตพลังงานทางเลือก เช่น น้ำมันไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน แต่ผลกระทบที่ตามมาคือการบุกรุกพื้นที่ป่าหลายแห่งซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญโดยเฉพาะในภาคใต้ สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นภาพสะท้อนนโยบายรัฐที่ยังมีความลักลั่นและไม่ชัดเจน ในการรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืนไปพร้อมกับการมีใช้พลังงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จึงน่าเป็นห่วงยิ่งว่า ทิศทางในการส่งเสริมพลังงานทางเลือกที่ห้อยมาตรการสิ่งแวดล้อมไว้ข้างท้ายเพียงแค่ให้ดูน่าเชื่อถือ จะจบลงด้วยหายนะภัยพิบัติทางธรรมชาติที่ยากจะกู้คืน
นายเพิ่มศักดิ์ กล่าวเสริมว่า ในภาวะน้ำมันแพง และโลกเกิดวิกฤตสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทางเลือกเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเป็นเพียงหนทางออกทางเดียว ในขณะเดียวกัน กระแสพลังงานหมุนเวียนในปัจจุบัน กลับยังไม่ได้มีเป้าหมายที่มุ่งเน้นสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้กับประเทศ แต่เป็นเป้าหมายทางธุรกิจ และการลงทุนเพื่อแสวงหากำไรจากการปลูกพืชพลังงานมากกว่า พอปลูกพืชพลังงานเหล่านี้แล้วขายในประเทศไทยได้ราคาไม่ดี ก็นำไปขายให้กับต่างประเทศ แล้วเมืองไทยจะได้ประโยชน์อะไร?
อย่างไรก็ตาม ทางเลือกด้านพลังงานในส่วนของเกษตรกร หรือชุมชน ตนเห็นว่าควรจัดสรรพื้นที่การเพาะปลูกด้วยพืชพันธุ์ที่หลากหลาย ไม่ควรมุ่งเป้านำพื้นที่ที่มีอยู่ทั้งหมดไปปลูกพืชพลังงาน เช่น ปาล์มน้ำมัน อ้อย หรือ ต้นทานตะวัน เท่านั้น แต่ต้องใช้พื้นที่ปลูกพืชอย่างหลากหลาย ให้มีทั้งพืชอาหาร เช่น ข้าว และพืชพลังงานร่วมด้วย เกษตรกรจึงจะสามารถอยู่ได้
นอกจากนี้ บทบาทในการลดโลกร้อน ทุกภาคส่วนของสังคม ทั้งภาครัฐ ภาคธุรกิจ และประชาชน ต้องมีส่วนร่วมอยู่แล้ว และสิ่งที่ควรทำ คือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ลดการใช้พลังงานที่ไม่จำเป็น ซึ่งต้องดำเนินการก่อน หรือควบคู่ไปกับนโยบายการผลิตพลังงานทดแทนเสียอีก
รวมทั้ง การแสวงหาแนวทางการผลิตพลังงานทางเลือกที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ภาคกลาง ในสมัยอดีตต่างก็ใช้กังหันน้ำและลมเพื่อทำการเกษตรทั้งสิ้น แต่ที่ผ่านมานักวิทยาศาสตร์มองข้ามเทคโนโลยีพื้นบ้านเหล่านี้ รัฐเองก็ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณเพื่อการวิจัยพัฒนาในจุดนี้ และไม่มุ่งมั่นพัฒนาการนำพลังงานจากแสงอาทิตย์ หรือพลังงานลมมาใช้อีกด้วย
“รัฐไทยมีหน้าที่วิจัย คิดค้น พัฒนาและสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมกับพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย รวมไปถึงการปรับปรุงเทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรมที่ยังล้าสมัย และใช้พลังงานสูง ให้ต้องลดการใช้พลังงาน และลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ต้องให้ข้อมูลความรู้แก่ประชาชน เช่น สถานการณ์เรื่องวิกฤตพลังงาน หรือแม้แต่ป่าไม้ที่กำลังถูกทำลาย ประชาชนควรได้รับข่าวสารเหล่านี้ด้วย รวมไปถึงการให้ข้อมูลข้อเท็จริงเกี่ยวกับพลังงานทางเลือกต่างๆ เช่น ‘พลังงานนิวเคลียร์’ ซึ่งกำลังเป็นถูกให้เป็นพลังงานทางเลือกอย่างหนึ่ง แต่ก็มีทั้งฝ่ายค้านและฝ่ายสนับสนุน ฉะนั้นต้องมีการอธิบายให้เหตุผลว่ามีผลดี และผลกระทบอย่างไรบ้าง ให้แก่ประชาชนได้รับรู้” นายเพิ่มศักดิ์ กล่าวทิ้งท้าย

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2552

งานส่งอาจารย์

1.1 เว็บไซต์ที่บอกเวลา ทั่วโลก
http://www.timeanddate.com/worldclock/custom.html?sort=1
http://school.obec.go.th/bannongtapan/time.html



1.2 สถานที่ท่องเที่ยว คือ The Leaning Tower of Pisa


View Larger Map

1.3เว็บไซต์ที่บอกอุณหภูมิ ทั่วโลก คือ
http://www.worldweather.org/
http://thai.wunderground.com/